Record Details

การวิพากษ์ร่างพระราชบัญญัติกองทุนการออมแห่งชาติ พ.ศ. ... ในทัศนะคณิตศาสตร์ประกันภัยและระบบงานคอมพิวเตอร์

NIDA Economic Review Journal

View Archive Info
 
 
Field Value
 
Title การวิพากษ์ร่างพระราชบัญญัติกองทุนการออมแห่งชาติ พ.ศ. ... ในทัศนะคณิตศาสตร์ประกันภัยและระบบงานคอมพิวเตอร์
 
Creator หล่อจีระชุณห์กุล, วิชิต หล่อจีระชุณห์กุล
ฉายศิลปร, วีณา
 
Description บทความนี้ ได้พิจารณาร่างพระราชบัญญัติกองทุนการออมแห่งชาติ พ.ศ. ... (คณะรัฐมนตรีเป็นผู้เสนอ) จากมุมมองด้านคณิตศาสตร์ประกันภัยและระบบงานคอมพิวเตอร์ ในประเด็นความเหมาะสมของอัตราส่วนเงินสมทบต่อเงินสะสมตามบัญชีเงินสมทบแนบท้ายร่างพระราชบัญญัติฯ และระบบงานคอมพิวเตอร์ที่จะต้องพัฒนาขึ้น เพื่อสนับสนุนการดำเนินงานตามพระราชบัญญัติฯ ในการวิเคราะห์อัตราผลประโยชน์ตอบแทนของยอดเงินสะสมของสมาชิกกองทุนการออมแห่งชาติกำหนดไว้ที่ร้อยละ 0.04/12 ต่อเดือน อัตราผลประโยชน์ตอบแทนของยอดเงินในบัญชีเงินบำนาญที่ร้อยละ 0.03/12 ต่อเดือน และอัตราเงินเฟ้อที่ร้อยละ 0.02/12 ต่อเดือน เฉลี่ยตลอดระยะเวลาการออมของสมาชิก ภายใต้อัตราส่วนเงินสมทบต่อเงินสะสมตามบัญชีเงินสมทบแนบท้ายร่างพระราชบัญญัติฯ สมาชิกกองทุนจะได้รับบำนาญตลอดชีวิตเดือนละ 557.54 ถึง 5,575.39 บาท 354.59 บาท ถึง 3,545.93 บาท 191.24 บาท ถึง 1,912.38 บาท และ 81.66 บาท ถึง 816.64 บาท ถ้าแรงงานนอกระบบเริ่มจ่ายเงินสะสมขั้นต่ำเดือนละ 50 บาท และเดือนละ 500 บาท โดยเริ่มจ่ายเงินสมทบตั้งแต่อายุ 20 ปีบริบูรณ์ 30 ปีบริบูรณ์ 40 ปีบริบูรณ์ และ 50 ปีบริบูรณ์ จนถึงอายุ 60  ปีบริบูรณ์ ตามลำดับอัตราส่วนของมูลค่าปัจจุบันของยอดเงินสะสมทั้งหมดต่อมูลค่าเงินสะสมทั้งหมดจนถึงอายุ 60  ปีบริบูรณ์ ปรับลดด้วยอัตราเงินเฟ้อ จะเท่ากับ 2.74, 2.60, 2.34 และ 2.22 เท่า ตามลำดับ จากการเริ่มเงินสะสมตั้งแต่อายุ 20 ปีบริบูรณ์ 30 ปีบริบูรณ์ 40 ปีบริบูรณ์ และ 50 ปีบริบูรณ์ แม้อัตราส่วนดังกล่าวจะมีค่ากว่า 2 เท่า แต่ความแตกต่างมีเพียงร้อยละ 23.37 เท่านั้น เมื่อเปรียบเทียบระหว่างกรณีที่เริ่มจ่ายเงินสะสมตั้งแต่อายุ 20 ปีบริบูรณ์ กับกรณีที่เริ่มจ่ายเงินสะสมตั้งแต่ 50 ปีบริบูรณ์ จึงไม่น่าจะมีแรงจูงใจเพียงพอที่ให้แรงงานนอกระบบสมัครเข้าเป็นสมาชิกกองทุนตั้งแต่อายุยังน้อย จึงเสนอให้ปรับอัตราส่วนเงินสมทบต่อเงินสะสมเป็นร้อยละ 100 ทุกช่วงอายุ แต่ยังคงเงินสมทบสูงสุดไว้ตามบัญชีเงินสมทบแนบท้ายร่างพระราชบัญญัติฯ ในกรณีนี้สมาชิกกองทุนที่ต้องการจ่ายเงินสะสมเท่ากับจำนวนเงินสมทบสูงสุด จะจ่ายเงินสะสมเดือนละ 250 บาท ในช่วงอายุไม่เกิน 30 ปี 400 บาท ในช่วงอายุเกิน 30 ปี แต่ไม่เกิน 50 ปี และ 500 บาท ในช่วงอายุเกิน 50 ปี บำนาญที่สมาชิกกองทุนฯ จะได้รับเมื่อมีอายุ 60 ปีบริบูรณ์ จะอยู่ระหว่างเดือนละ 655.51 บาท ถึง  4,595.65 บาท ถ้าสมาชิกเริ่มจ่ายเงินสะสมประจำขั้นต่ำ 50 บาทต่อเดือน และจ่ายเงินสะสมเท่ากับจำนวนเงินสมทบสูงสุด โดยเริ่มจ่ายเงินสะสมตั้งแต่อายุ 20 ปีบริบูรณ์ จะอยู่ระหว่างเดือนละ 384.92 บาท ถึง 3,242.67 บาทถ้าสมาชิกเริ่มจ่ายเงินสะสมตั้งแต่อายุ 30 ปีบริบูรณ์ จะอยู่ระหว่างเดือนละ 203.41 บาท ถึง 1,790.63 บาทถ้าสมาชิกเริ่มจ่ายเงินสะสมตั้งแต่อายุ 40 ปีบริบูรณ์ และจะอยู่ระหว่าง 81.66 บาท ถึง 816.64 ถ้าสมาชิกเริ่มจ่ายเงินสะสมตั้งแต่อายุ 50 ปีบริบูรณ์ อัตราส่วนของมูลค่าปัจจุบันของยอดสะสมทั้งหมดต่อมูลค่าปัจจุบันของเงินสะสมทั้งหมดที่จ่ายเท่า ๆ กันทุกเดือนจะเป็น 3.22, 2.82, 2.49 และ 2.22 เท่า เมื่อเริ่มจ่ายเงินสะสมตั้งแต่อายุ 20 ปีบริบูรณ์ 30 ปีบริบูรณ์ 40 ปีบริบูรณ์ และ 50 ปีบริบูรณ์ ความแตกต่างได้เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 45.05 ระหว่างกรณีที่เริ่มจ่ายสะสมตั้งแต่ 20 ปีบริบูรณ์กับเริ่มจ่ายเงินสะสมตั้งแต่อายุ 50 ปีบริบูรณ์ ซึ่งเพิ่มแรงจูงใจให้มากขึ้นเพื่อให้แรงงานนอกระบบเข้ามาเป็นสมาชิกกองทุนตั้งแต่อายุยังน้อยหากใช้อัตราส่วนเงินสมทบต่อเงินสะสมตามบัญชีเงินสมทบแนบท้ายร่างพระราชบัญญัติฯ ภาระงบประมาณแผ่นดินประจำปี จะอยู่ระหว่าง 466.06 ล้านบาท ถึง 4,660.57 ล้านบาทต่อสมาชิกกองทุน 1 ล้านคน และจะอยู่ระหว่าง 600.00 ล้านบาท ถึง 4,660.57 ล้านบาท หากใช้ตามข้อเสนอใหม่โครงสร้างพื้นฐานที่กองทุนการออมแห่งชาติจะต้องมี เพื่อสนับสนุนการดำเนินงานตามร่างพระราชบัญญัติฯ คือ ระบบตรวจสอบคุณสมบัติของแรงงานนอกระบบตามมาตรา 30 ซึ่งระบบนี้จะต้องเชื่อมโยงกับฐานข้อมูลของกองทุนบำเหน็จบำนาญต่าง ๆ กองทุนประกันสังคม กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ และกองทุนสงเคราะห์ต่าง ๆ และระบบบัญชีประจำตัวสมาชิกกองทุน พร้อมด้วยระบบการรับชำระเงินสะสมของสมาชิกกองทุน ตลอดจนหลักฐานการเป็นสมาชิกกองทุนด้วย ระบบการรับชำระเงินสะสมควรใช้สิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ ที่มีอยู่ในปัจจุบันของธนาคารการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ธนาคารออมสิน ธนาคารกรุงไทย (มหาชน) จำกัด และบริษัทไปรษณีย์ไทย จำกัด เพื่อประหยัดค่าใช้จ่ายในการลงทุน ลดภาระเกี่ยวกับการบริหารบุคลากร และสามารถดำเนินการได้ในระยะเวลาอันสั้น ซึ่งหมายความว่า ระบบงานคอมพิวเตอร์ของกองทุนฯ จะต้องเชื่อมโยงกับระบบงานคอมพิวเตอร์ของหน่วยงานดังกล่าวด้วย
 
Publisher Development Economic Review (พัฒนาการเศรษฐกิจปริทรรศน์)
 
Date 2011-01-01
 
Type info:eu-repo/semantics/article
info:eu-repo/semantics/publishedVersion
Peer-reviewed Article
 
Format application/pdf
 
Identifier http://tci-thaijo.org/index.php/NER/article/view/23797
 
Source Development Economic Review (พัฒนาการเศรษฐกิจปริทรรศน์); Vol 5 No 1 (2554): NIDA Economic Review Journal
1906-2540
 
Language eng
 
Relation http://tci-thaijo.org/index.php/NER/article/view/23797/20243
 
Rights Copyright (c) 2017 Development Economic Review (พัฒนาการเศรษฐกิจปริทรรศน์)