Record Details

ประสิทธิภาพการบำบัดน้ำเสียด้วยวิธีธรรมชาติบำบัด กรณีศึกษา ศูนย์กสิกรรมธรรมชาติมาบเอื้อง Efficiency of Wastewater Treatment by Natural Method: A Case Study of Mab Aung Natural Agriculture Center

Journal of Environmental Management

View Archive Info
 
 
Field Value
 
Title ประสิทธิภาพการบำบัดน้ำเสียด้วยวิธีธรรมชาติบำบัด กรณีศึกษา ศูนย์กสิกรรมธรรมชาติมาบเอื้อง Efficiency of Wastewater Treatment by Natural Method: A Case Study of Mab Aung Natural Agriculture Center
 
Creator สิริสุดา หนูทิมทอง, Sirisuda Nootimthong
สมพจน์ กรรณนุช, Sompote Kunnoot
วิวัฒน์ ศัลยกำธร, Wiwat Salyakamthorn
ธวัชชัย ศุภดิษฐ์, Tawadchai Suppadit
 
Description การศีกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินประสิทธิภาพการบำบัดน้ำเสียด้วย วิธีธรรมชาติบำบัด โดยศึกษาบริเวณจุดต่างๆ ของลำรางประดิษฐ์ ของศูนย์กสิกรรมธรรมชาติมาบเอื้อง ได้แก่ จุดน้ำพุ 1 (บริเวณหลังห้องน้ำ) จุดน้ำพุ 2 (บริเวณหลังครัว) จุดน้ำตก จุดพืชห้าชั้น จุดอิฐยกระดับ จุดแปลงธูปฤาษี จุดแปลงผักตบชวา และจุดฝายชะลอน้ำ เพื่อเปรียบเทียบคุณภาพน้ำก่อนและหลังการบำบัดตามตัวชี้วัดได้แก่ ฟอสฟอรัสรวม บีโอดี ของแข็งแขวนลอย แอมโมเนีย ไนเตรท ความเป็นกรด-ด่าง แบคทีเรียกลุ่มโคลิฟอร์มทั้งหมด และแบคทีเรียกลุ่มฟีคัลโคลิฟอร์ม ผลการศึกษาพบว่า จุดน้ำพุ 1 (บริเวณหลังห้องน้ำ) สามารถบำบัดไนเตรทได้ดีที่สุด จุดน้ำตก และแปลงผักตบชวาสามารถบำบัดแอมโมเนียได้ดีที่สุด จุดอิฐยกระดับสามารถบำบัดบีโอดีได้ดีที่สุดแปลงธูปฤาษีสามารถบำบัดของแข็ง แขวนลอยได้ดีที่สุด และฝายชะลอน้ำสามารถบำบัดฟอสฟอรัสแบคทีเรียกลุ่มโคลิฟอร์มทั้งหมด และแบคทีเรียกลุ่มฟีคัลโคลิฟอร์มได้ดีที่สุด สรุปได้ว่าวิธีธรรมชาติบำบัดสามารถบำบัดน้ำเสียชุมชนได้แต่ทั้งนี้ขึ้นกับ คุณลักษณะของน้ำเสียและตัวชี้วัดที่ต้องการบำบัดThe objective of this study was to find out the effectiveness of natural methods on wastewater treatment at Mab Aung Natural Agriculture Center. The sampling points were: 1) fountain 1 (behind toilet), 2) fountain 2 (behind kitchen), 3) waterfall, 4) five levels forest, 5) uplifted block, 6) Typha angustifolia crop field, 7) water hyacinth crop field and 8) check dam. The effectiveness of the system was determined in terms of total phosphorus, biochemical oxygen demand (BOD), suspended solid (SS), ammonia (NH3), nitrate (NO3), pH, total coliform bacteria, and fecal coliform bacteria. The results illustrated that NO3 could be treated mostly at the fountain 1 area, NH3t waterfall and water hyacinth areas, BOD at uplifted block, SS at Typha angustifolia crop field, and phosphorus, total coliform bacteria and fecal coliform bacteria at check dam. It can be concluded that the natural method can be used to treat the domestic wastewater. However, the effectiveness of treatment depended upon the wastewater characteristics and treated indicators.
 
Publisher วารสารการจัดการสิ่งแวดล้อม JOURNAL OF ENVIRONMENTAL MANAGEMENT
 
Contributor
 
Date 2015-01-06
 
Type info:eu-repo/semantics/article
info:eu-repo/semantics/publishedVersion

 
Format application/pdf
 
Identifier http://www.tci-thaijo.org/index.php/JEM/article/view/29107
 
Source วารสารการจัดการสิ่งแวดล้อม JOURNAL OF ENVIRONMENTAL MANAGEMENT; Vol 5, No 2 (2009)
2465-4434
1906-5485
 
Relation http://www.tci-thaijo.org/index.php/JEM/article/view/29107/25014
 
Rights Copyright (c) 2016 วารสารการจัดการสิ่งแวดล้อม JOURNAL OF ENVIRONMENTAL MANAGEMENT