การพัฒนาและการเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้างอำนาจของชุมชนท้องถิ่นในภาคตะวันออก
Journal of Social Development
View Archive InfoField | Value | |
Title |
การพัฒนาและการเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้างอำนาจของชุมชนท้องถิ่นในภาคตะวันออก
|
|
Creator |
ชัยยนต์ ประดิษฐศิลป์, Chaiyon Praditsil
|
|
Description |
บทคัดย่อ บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์การพัฒนาและการเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้างอำนาจของชุมชนในภาคตะวันออก โดยใช้วิธีการทางประวัติศาสตร์เชิงโครงสร้าง ผลการศึกษาพบว่าโครงสร้างอำนาจชุมชนท้องถิ่นในภาคตะวันออกโดยภาพรวมมีการคลี่คลายจากโครงสร้างการปกครองตนเองของชุมชนที่เคยมีมาในอดีตมาสู่โครงสร้างอำนาจแบบอุปถัมภ์เป็นแบบแผนหลักในปัจจุบันและมีการเกิดขึ้นของโครงสร้างอำนาจใหม่ในรูปแบบของโครงสร้างชนชั้นนำ แบบแผนการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างอำนาจของชุมชนภาคตะวันออกดังกล่าวเกิดขึ้นภายใต้บริบทการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างที่ใหญ่กว่าในระดับภาคตั้งแต่การก่อรูปอุดมการณ์ทุนนิยมช่วงรัตนโกสินทร์ตอนต้น การขยายตัวของเศรษฐกิจการผลิตเพื่อขายหลังสนธิสัญญาเบาว์ริ่ง การสถาปนาการปกครองส่วนภูมิภาคสมัยใหม่ในช่วงการปฏิรูปการปกครอง รวมถึงการก่อรูปโครงสร้างอำนาจแบบชนชั้นนำท้องถิ่นในแต่ละจังหวัดของภาคตะวันออกจากระบบการเลือกตั้งหลังเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 โครงสร้างอำนาจของภาคตะวันออกดังกล่าวมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างอำนาจในระดับชุมชนท้องถิ่นโดยการแทรกตัวของกลไกรัฐราชการ การขยายตัวของระบบทุนนิยม และการขยายตัวของกลไกการเมืองในระบบเลือกตั้ง กล่าวคือ กลไกของรัฐ ระบบทุนนิยม ระบบเลือกตั้งได้เข้าไปแทนที่กดทับหรือปรับเปลี่ยนกลไกต่าง ๆ ของสถาบันหมู่บ้านจนนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างอำนาจของชุมชนท้องถิ่นคำสำคัญ: โครงสร้างอำนาจ โครงสร้างอำนาจชนชั้นนำ โครงสร้างอำนาจแบบอุปถัมภ์ การเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้างAbstractThis article aims to analyze the development and change in power structure of local communities in the eastern region of Thailand by using the historical-structural approach. The study finds that the power structure of local communities in the East changed from self-governing community structure in the past to the patronage power structure as the major structure at present. Also, a new power structure in the form of elitist power has emerged. This pattern of power structural change has occurred under the larger context than at the regional level, especially the formation of capitalist ideology in the early Rattanakosin period, the expansion of production-for-sale economy after the signing of the Bowring treaty, the formation of modern regional government during the period of government reform, and the formation of elitist power structure in each province in the East as a result of the electoral system after the event of October 14, 1973. This power structure of the East has caused changes in the power structure of local-level communities through intervention of the bureaucratic mechanisms, capitalist expansion, and expansion of political mechanisms in the electoral system. That is, the state mechanisms, capitalism, and the electoral system have, substituted, suppressed and changed the village institution, leading to change in the power structure of local communities.Keywords: Power Structure, Elitist Structure, Patronage Structure, Structural Change
|
|
Publisher |
คณะพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
|
|
Contributor |
—
|
|
Date |
2015-07-06
|
|
Type |
info:eu-repo/semantics/article
info:eu-repo/semantics/publishedVersion — |
|
Format |
application/pdf
|
|
Identifier |
http://www.tci-thaijo.org/index.php/jsd/article/view/37421
|
|
Source |
วารสารพัฒนาสังคม Journal of Social Development (JSD); Vol 17, No 1 (2015): April 2015; 65-87
0859-2667 |
|
Relation |
http://www.tci-thaijo.org/index.php/jsd/article/view/37421/31133
|
|
Rights |
Copyright (c) 2015 วารสารพัฒนาสังคม Journal of Social Development (JSD)
http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 |
|