บทบาทของซีเอสอาร์และวิสาหกิจเพื่อสังคมกับการแก้ปัญหาสังคม
Journal of Social Development
View Archive InfoField | Value | |
Title |
บทบาทของซีเอสอาร์และวิสาหกิจเพื่อสังคมกับการแก้ปัญหาสังคม
|
|
Creator |
พิพัฒน์ นนทนาธรณ์, Phiphat Nonthanathorn
|
|
Subject |
—
— |
|
Description |
บทคัดย่อสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงอย่างเป็นพลวัตรทำให้เกิดแรงกดดันทางสังคมต่อการดำเนินงานขององค์การธุรกิจต่างๆ การดำเนินธุรกิจในยุคปัจจุบันจึงต้องพัฒนาให้สอดรับกับกระแสแนวโน้มทางด้านความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์การ ทั้งในระดับปรัชญาและแนวคิดต่างๆที่ทำให้การบริหารจัดการธุรกิจต่างๆสามารถตอบโจทย์ทางสังคมและอยู่ร่วมกับชุมชนได้ โดยเริ่มจากความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์การหรือซีเอสอาร์ซึ่งได้มีการพัฒนาเข้าสู่แนวคิดเรื่องการสร้างคุณค่าร่วมและต่อยอดเป็นวิสาหกิจเพื่อสังคมในท้ายที่สุด การดำเนินการทางด้านซีเอสอาร์ในภาคส่วนต่างๆนั้นมีผู้เล่นมากมายที่มีบทบาทที่แตกต่างและเสริมแรงกัน เมื่อพิจารณาในภาคสาธารณะผู้เล่นคือหน่วยงานภาครัฐและหน่วยงานสาธารณะเอกชนที่ตั้งตามกฎหมายพิเศษ เช่นสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย หอการค้าไทยและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย จะมีบทบาทหลักคือการสร้างคุณค่าสาธารณะและวางมาตรฐานหรือแนวทางรับผิดชอบต่อสังคมในวงการที่เกี่ยวข้อง ส่วนภาคเอกชนมีผู้เล่นหลักคือองค์การธุรกิจทำหน้าที่ในการสร้างคุณค่าเอกชนคือความมั่งคั่งของผู้ถือหุ้นและสร้างคุณค่าร่วมกับสังคม สุดท้ายคือภาคประชาชนซึ่งมีผู้เล่นหลักคือประชาชน ตลอดมูลนิธิ สมาคม ชมรมต่างๆ ซึ่งทำหน้าที่ในการสร้างคุณค่าสังคมและสร้างคุณค่าร่วมกันกับภาคเอกชน บทบาทของซีเอสอาร์ การสร้างคุณค่าร่วม และวิสาหกิจเพื่อสังคมในการแก้ปัญหาสังคมขึ้นอยู่กับว่าชุมชนในสังคมนั้นมีความพร้อมทางด้านทรัพยากรที่จับต้องได้และจับต้องไม่ได้เพียงใดและมีระดับของอาสาสมัครชุมชนกันมากเพียงใด และมีเป้าหมายในการพัฒนาชุมชนในสังคมให้บรรลุถึงการพัฒนาอย่างยั่งยืนโดยผ่านกิจกรรมด้านซีเอสอาร์ การสร้างคุณค่าร่วม และวิสาหกิจเพื่อสังคมคำสำคัญ: ความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์การ การสร้างคุณค่าร่วม วิสาหกิจเพื่อสังคม ภาวะผู้นำที่รับผิดชอบต่อสังคมABSTRACTChanging environments create social pressures focus to business operation of any business organizations. Corporate social responsibility has developed philosophically and conceptually in order to answer social problems and can operate business among communities friendly. All start from Corporate Social Responsibility, and now it extends the concepts to Creating Shared Value and Social Enterprise. CSR in each sector has a different player’ roles and reinforce together. In the public sector, the major players are government units and public services which operate by private representatives and set up by special laws (such as The Federation of Thai Industries, The Thai Chamber of Commerce and Board of Trade of Thailand). These players have roles in creating public value and set the standard or guideline for social responsibility. The key players in the private sector are business organizations which have roles in creating private value by increasing shareholders’ wealth and creating shared value with society. In the people sector, the players are people including foundation, association, club, etc. which create social value and create shared value with business organization. CSR, CSV and SE roles in social problem solving depend on the readiness of tangible and intangible community resources and the level of community volunteering in the community. The purpose of community development is to achieve sustainable development via CSR activities, creating shared value, and social enterprise.Key Words: Corporate Social Responsibility, Creating Shared Value, Social Enterprise, Socially Responsible Leadership
|
|
Publisher |
คณะพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
|
|
Contributor |
—
|
|
Date |
2015-10-22
|
|
Type |
info:eu-repo/semantics/article
info:eu-repo/semantics/publishedVersion — |
|
Format |
application/pdf
|
|
Identifier |
http://www.tci-thaijo.org/index.php/jsd/article/view/41271
|
|
Source |
วารสารพัฒนาสังคม Journal of Social Development (JSD); Vol 17, No 2 (2015): October 2015; 13 - 34
0859-2667 |
|
Relation |
http://www.tci-thaijo.org/index.php/jsd/article/view/41271/40500
|
|
Rights |
Copyright (c) 2015 วารสารพัฒนาสังคม Journal of Social Development (JSD)
http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 |
|