ความสูญเสียทางเศรษฐกิจจากนโยบายกำหนดราคาพลังงานทดแทน
Applied Economics Journal
View Archive InfoField | Value | |
Title |
ความสูญเสียทางเศรษฐกิจจากนโยบายกำหนดราคาพลังงานทดแทน
|
|
Creator |
Chenphuengpawn, Jirath
|
|
Description |
บทคัดย่อ ตลาดไบโอดีเซล บี5 เกิดขึ้นในปี พ.ศ. 2549 ภาครัฐได้ประกาศโครงสร้างราคาขายปลีกไบโอดีเซล บี5 ที่ได้รับการอุดหนุนราคาไขว้ โดยถ่ายโอนภาษีน้ำมันและใช้เงินกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงจากผู้บริโภคดีเซลหมุนเร็วสู่ผู้บริโภคไบโอดีเซล บี5 การศึกษานี้จะชี้ให้เห็นถึงความสูญเสียทางเศรษฐกิจจากนโยบายดังกล่าว โดยประมาณการการเปลี่ยนแปลงอุปสงค์และอุปทานในตลาดดีเซลหมุนเร็วและไบโอดีเซล บี5 เพื่อคำนวณหามูลค่าความสูญเสียทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นจริง และนำแบบจำลองที่ได้ไปจำลองสถานการณ์เพื่อหานโยบายการกำหนดราคาน้ำมันให้มีประสิทธิภาพสูงสุด การศึกษาใช้ข้อมูลอนุกรมเวลารายเดือนตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2550 ถึงเดือนมกราคม 2554 การศึกษาพบว่า นโยบายการกำหนดราคาขายปลีกโดยการอุดหนุนราคาไขว้ดังกล่าว ก่อให้เกิดความสูญเสียทางเศรษฐกิจในตลาดน้ำมันทั้งสองตลอดช่วงเวลา 4 ปี รวม 11,497 ล้านบาท ความสุญเสียส่วนใหญ่เกิดในตลาดดีเซลหมุนเร็ว จากสถานการณ์จำลองสนับสนุนให้จัดเก็บภาษีน้ำมันต่อไป แต่ไม่สนับสนุนการอุดหนุนราคาไขว้ การจัดเก็บภาษีน้ำมันควรจัดเก็บตามต้นทุนทางสังคมที่เกิดจากผลกระทบภายนอกในการใช้น้ำมัน กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงควรทำหน้าที่รักษาเสถียรภาพระดับราคาขายปลีกเพียงอย่างเดียว และรัฐควรกำกับอัตราภาษีที่ทำให้สัดส่วนราคาขายปลีกต่อต้นทุนที่แท้จริงของน้ำมันแต่ละชนิดเท่ากันเพื่อขจัดความสูญเสียทางเศรษฐกิจคำสำคัญ : ความสูญเสียทางเศรษฐกิจ, นโยบายกำหนดราคา, พลังงานทดแทน Abstract When a market for biodiesel B5 occurred in 2006, the government set a retail price for biodiesel B5, which was subsidized by oil taxes and the oil fund of high speed diesel. This paper evaluates the economic loss from such cross-price subsidy policy. The variation in demand and supply in the markets of high speed diesel and biodiesel B5 was estimated to calculate a deadweight loss. The model obtained was then used for a model simulation to find the optimum pricing policy. Time series data from February 2007 to January 2011 were used. The study shows that the cross price subsidy generated a deadweight loss of 11,497 million baht within a 4-year period. The loss mainly occurred in the high-speed diesel market. The result of the simulation supports a continuous collection of fuel tax, but not a cross price subsidy. The tax must be collected in accordance to a social cost of externality from fuel consumption. The function of the oil fund should be to maintain the stability of retail price levels only. Government should monitor the tax rates in the way that makes the proportions of retail price and cost of the two fuels equal. This would avoid the loss.Keywords : deadweight loss, pricing policy, alternative energy JEL Classification : D61, E64, H21, Q42
|
|
Publisher |
The Center for Applied Economics Research (CAER)
|
|
Date |
2013-07-25
|
|
Type |
info:eu-repo/semantics/article
info:eu-repo/semantics/publishedVersion Peer-reviewed Article |
|
Format |
application/pdf
|
|
Identifier |
http://tci-thaijo.org/index.php/AEJ/article/view/10341
|
|
Source |
Applied Economics Journal; Vol 19 No 1 (2012): June; 1-23
2586-9132 2586-9124 |
|
Language |
eng
|
|
Relation |
http://tci-thaijo.org/index.php/AEJ/article/view/10341/9356
|
|
Rights |
Copyright (c) 2014 Applied Economics Journal
http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 |
|