Record Details

พฤติกรรมการบริโภคตามแนวพระราชดำริปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของนักศึกษาระดับอุดมศึกษา: กรณีศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ ศูนย์นนทบุรี

Journal of Social Development

View Archive Info
 
 
Field Value
 
Title พฤติกรรมการบริโภคตามแนวพระราชดำริปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของนักศึกษาระดับอุดมศึกษา: กรณีศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ ศูนย์นนทบุรี
 
Creator รติพร ถึงฝั่ง, Ratiporn Teungfung
จินตนา เกิดลาภี, Jintana Kerdlapee
 
Description บทคัดย่อ การศึกษาในครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาพฤติกรรมการบริโภคตามแนวพระราชดำริปรัชญา เศรษฐกิจพอเพียงของนักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ ศูนยนนทบุรี ตลอดจนศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการบริโภคตามแนวพระราชดำริปรัชญา เศรษฐกิจพอเพียงของนักศึกษา โดยเก็บข้อมูลจากนักศึกษาระดับปริญญาตรีจำนวน 390 คน  เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลประกอบด้วย แบบสอบถามและแบบวัดความรู้เกี่ยวกับพระราชดำริปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนาเพื่อศึกษาลักษณะพฤติกรรมการบริโภคตาม แนวพระราชดำริปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และสถิติถดถอยพหุหลายขั้นเพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการบริโภคตาม แนวพระราชดำริปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ผลการศึกษาพบว่าพฤติกรรมการบริโภคตามแนวพระราชดำริปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของ นักศึกษาอยู่ในระดับมาก สมการถดถอยสามารถอธิบายความแปรปรวนของพฤติกรรมการบริโภคดังกล่าวได้ดีคิด เป็นร้อยละ 52.7  สำหรับ ตัวแปรที่มีผลต่อพฤติกรรมการบริโภคตามพระราชดำริปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ประกอบด้วย ประเภทหลักสูตร ทัศนคติเกี่ยวกับพระราชดำริปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง แรงจูงใจในการปฏิบัติตามพระราชดำริปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และอายุ ดังนั้นการเรียนการสอนในวิชาสังคมศาสตร์ควรบรรจุเนื้อหาเกี่ยวกับพระราชดำริ ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเป็นเนื้อหาหลักในรายวิชาของนักศึกษาทุกหลักสูตร พร้อมทั้งสร้างเสริมทัศนคติและแรงจูงใจที่ดีในการนำพระราชดำริปรัชญา เศรษฐกิจพอเพียงไปปฏิบัติ ด้วยการเน้นให้นักศึกษาได้เห็นถึงประโยชน์ของพระราชดำริปรัชญาเศรษฐกิจพอ เพียงให้มากที่สุด และควรสอนให้ครอบคลุมถึงประเด็นการประยุกต์ใช้กับระบบเศรษฐกิจกระแสหลัก เพื่อให้นักศึกษาได้มีความเข้าใจอย่างถูกต้อง นอกจากนี้ควรจัดให้นักศึกษาได้ไปศึกษาดูงานโครงการหรือชุมชนที่นำพระราชดำริ ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้แล้วประสบผลสำเร็จ คำสำคัญ: พฤติกรรมการบริโภค;   เศรษฐกิจพอเพียง;   นักศึกษาระดับอุดมศึกษา   Abstract The objectives of the study were to study consumption behavior of undergraduate students following the Royal Sufficiency Economy Philosophy, a case study at Rajamangala University of Technology Suvarnabhumi Nontaburi Center. The sample consisted of 390 undergraduate students. Data was collected through questionnaires and Sufficiency Economy Philosophy Tests. Data analysis methods were descriptive statistics to explain the consumption behavior of undergraduate students following the Royal Sufficiency Economy Philosophy and Hierarchical Regression Analysis to study the influence factors on this behavior.  It was found that the average score of students’ consumption behavior was at a high level. From Hierarchical Regression Analysis, the regression equation explained a 52.7 % of variance in students’ consumption behavior following the Royal Sufficiency Economy Philosophy. The influence factors on students’ consumption behavior following the Royal Sufficiency Economy Philosophy sequenced by the effect on dependent variable were type of curriculum, attitude, motivation and students’ age. As a result, the Royal Sufficiency Economy Philosophy should be mainly integrated in the social sciences subjects of all curriculums.  Lecturers should ensure to emphasize its usefulness to students because it is important to promote positive attitudes and motivation for practicing in their daily lives, and teach them inclusively how this could be applied to mainstream economics. In addition, field study in successful communities or project areas using the Royal Sufficiency Economy Philosophy should be encouraged for better understanding. Key words:  Consumption Behavior; Sufficiency Economy; Undergraduate Students
 
Publisher คณะพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
 
Date 2014-12-14
 
Type info:eu-repo/semantics/article
info:eu-repo/semantics/publishedVersion
 
Format application/pdf
 
Identifier //tci-thaijo.org/index.php/jsd/article/view/25712
 
Source วารสารพัฒนาสังคม Journal of Social Development (JSD); ปีที่ 15 ฉบับที 2 (2013)
0859-2667
 
Language eng
 
Relation //tci-thaijo.org/index.php/jsd/article/view/25712/27322
 
Rights Copyright (c) 2015 วารสารพัฒนาสังคม Journal of Social Development (JSD)
http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0