Record Details

เครือข่ายความร่วมมือในการจัดการไฟป่าร่วมกัน ในพื้นที่ป่าทุ่งบางนกออก เขตลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลาตอนล่าง

Journal of Environmental Management

View Archive Info
 
 
Field Value
 
Title เครือข่ายความร่วมมือในการจัดการไฟป่าร่วมกัน ในพื้นที่ป่าทุ่งบางนกออก เขตลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลาตอนล่าง
 
Creator สวรินทร์ เบ็ญเด็มอะหลี, Sawarin Bendem-Ahlee
 
Description บทคัดย่อการศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อสถานการณ์ไฟป่า การมีส่วนร่วมของชุมชนและรูปแบบการจัดการไฟป่าร่วมกันของเครือข่ายควบคุมไฟป่าในเขตพื้นที่ป่าทุ่งบางนกออก ตำบลควนโส อำเภอควนเนียง จังหวัดสงขลา โดยใช้วิธีการรวบรวมข้อมูลการสัมภาษณ์เจาะลึกในรูปแบบการทำกิจกรรมไปพร้อมกับผู้ให้ข้อมูลอย่างเป็นกันเองกับผู้ให้ข้อมูลทั้งชาวบ้าน อาสาสมัครจากชุมชนและเจ้าหน้าที่ควบคุมไฟป่าในสังกัดกรมป่าไม้ ตลอดจนการเข้าร่วมสังเกตแบบมีส่วนร่วมในการดับไฟป่า อนึ่ง ป่าทุ่งบางนกออก เป็นป่าเสม็ดผืนใหญ่ที่สุดของจังหวัดสงขลา ทั้งนี้ ไฟป่าเป็นปัญหาที่เกิดถี่มากขึ้นอย่างต่อเนื่องในช่วงเวลา 10 ปีที่ผ่านมา  ไฟป่ามักเกิดขึ้นในช่วงเดือน กรกฏาคม-กันยายน และมักเกิดขึ้นในพื้นที่เดิมและมีแนวโน้มขยายพื้นที่กว้างมากขึ้น  สำหรับสาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากการกระทำของคนในและนอกชุมชน ทั้งการจงใจก่อเหตุและการประมาทเลินเล่อในการเข้าไปหาของป่า ทั้งนี้ การเกิดไฟป่าและลักษณะการมีส่วนร่วมของชุมชนในการแก้ปัญหาไฟป่ามีความแตกต่างกันในแต่ละช่วงเวลาและสถานภาพของป่า แต่มีความตื่นตัวในเรื่องไฟป่ามากขึ้น โดยอาสาสมัครในชุมชนทำงานร่วมกับเจ้าหน้าที่รัฐเพื่อแก้ปัญหาไฟป่า กล่าวได้ว่า ทางเลือกทางรอดของการจัดการไฟป่าเพื่อรักษาป่าผืนสุดท้ายแห่งลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลาตอนล่างเอาไว้ คือ ความร่วมมือจากทุกภาคส่วนคำสำคัญ: ป่าเสม็ด  การจัดการไฟป่า  การมีส่วนร่วมAbstractThe purposes of this qualitative study were to investigate the wildfire situation, collaboration of the community, and style of work, together with the network for fire control in the forest area of Thung Bang Nok-ok, Khuan So Sub-District, Khuan Niang District in Songkhla Province in Thailand. The data were collected using the “go-along” in-depth interview method. The informants were villagers and volunteers from the community, wildfire control officers of the Department of Forestry, and using the participatory observations method that the researcher were made by taking part in wildfire suppression. The Thung Bang Nok-ok forest is the largest-Melaleuca forest of Songkhla Province. However, wildfires have been a problem that have frequently and constantly taken place during the last 10 years.  Wildfires usually take place during July–September and they normally occur in the same areas, with a tendency to expand.  The wildfires are caused by people  from inside and outside the community, both intentionally and negligently, when they go hunting in the forest.  Therefore, wildfires and community participation in wildfire suppression are different depending on the time and the status of the forest.  After a network for wildfire suppression was established, still, some wildfires have taken place but people are now more alert. Volunteers in the community work with government officers to solve the problem of wildfires.  It can be said that the answer for the survival of the last forest of the lower Songkhla Lake Basin is the collaboration of all sectors involved.Keywords: Melaleuca Forest; Wildfire Management; Participation
 
Publisher วารสารการจัดการสิ่งแวดล้อม JOURNAL OF ENVIRONMENTAL MANAGEMENT
 
Date 2014-12-29
 
Type info:eu-repo/semantics/article
info:eu-repo/semantics/publishedVersion
 
Format application/pdf
 
Identifier //tci-thaijo.org/index.php/JEM/article/view/27542
 
Source วารสารการจัดการสิ่งแวดล้อม JOURNAL OF ENVIRONMENTAL MANAGEMENT; Vol 10 No 2 (2014)
2465-4434
1906-5485
 
Language eng
 
Relation //tci-thaijo.org/index.php/JEM/article/view/27542/26430
 
Rights Copyright (c) 2017 วารสารการจัดการสิ่งแวดล้อม JOURNAL OF ENVIRONMENTAL MANAGEMENT