การมีส่วนร่วมของประชาชนในการป้องกันปัญหาอุทกภัยในพื้นที่ลุ่มน้ำยมตอนล่าง Public Participation in Solving Flood Problems in the Lower Yom River Basin
Journal of Environmental Management
View Archive InfoField | Value | |
Title |
การมีส่วนร่วมของประชาชนในการป้องกันปัญหาอุทกภัยในพื้นที่ลุ่มน้ำยมตอนล่าง Public Participation in Solving Flood Problems in the Lower Yom River Basin
|
|
Creator |
ปิยะดา วชิระวงศกร, Piyada Wachirawongsakorna
ณัฏฐิณี ดีแท้, Natthinee Deetae |
|
Description |
การวิจัยนี้เป็นการศึกษาระดับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการป้องกันปัญหาอุทกภัยในพื้นที่ลุ่มน้ำยมตอนล่าง โดยศึกษาในพื้นที่ 4 จังหวัดได้แก่ จังหวัดแพร่ สุโขทัย พิษณุโลก และพิจิตร โดยใช้แบบสอบถามสัมภาษณ์ประชาชนที่มีสิทธิ์เลือกตั้งจำนวน 861 คน ที่ได้มาจากการสุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้โปรแกรม SPSS เพื่อวิเคราะห์หาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย การทดสอบค่า t-testและ F-test พบว่า ประชาชนในพื้นที่ลุ่มน้ำยมส่วนใหญ่ใช้ประโยชน์จากแม่น้ำยมในการทำการเกษตรมากที่สุดคิดเป็นร้อยละ 26.36 รองลงมาได้แก่ ทำประมง คิดเป็นร้อยละ 2.44 และใช้น้ำในการอุปโภคบริโภค คิดเป็นร้อยละ 2.21 ตามลำดับในช่วงฤดูน้ำหลากจะมีประชาชนถึงร้อยละ 60.51ที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัย ซึ่งส่วนใหญ่จะได้รับผลกระทบด้านการเกษตรมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 44.36 เมื่อพิจารณาถึงระดับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการแก้ไขปัญหาอุทกภัยในแต่ละด้านจะเห็นว่าประชาชนมีส่วนร่วมเพียงการรับรู้ข้อมูลข่าวสาร ซึ่งอยู่ในระดับปานกลาง ((x ̅=2.53)แต่ไม่พบว่าประชาชนมีส่วนร่วมในการกำหนดปัญหาการวางแผนแก้ไขปัญหา การดำเนินการ และการติดตามประเมินผล ((x ̅=0.83) โดยตำแหน่งหน้าที่ในชุมชน อาชีพหลัก และรายได้ของประชาชนที่แตกต่างกันมีผลต่อการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการปัญหาอุทกภัยอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.05This research studies the level of public participation in solving flood problems in the Yom river basin. The study areas comprised four provinces: Prae, Sukhothai, Phitsanulok, and Phichit. A questionnaire was used as the instrument for 861 voters using accidental sampling. For the data analysis, the SPSS program was utilized to analyze the percentage of frequency, means, t-test, and F-test. The results showed that most of the local population used the water in the Yom river for agriculture (26.36%), followed by fisheries (2.44%), and consumption (2.21%). Most of the population was affected by flooding during the rainy season (60.51%), which largely impacted agriculture at 44.36% of total flood victims. When considering public participation related to solving the identification of the flooding problem in each dimension, it was found that local people only participated through access to information at a moderate level (=2.53), while there was no public participation in defining the problem, flood solution planning, or implementation or evaluation (=0.83). The differences in the positions in the community, and the occupation and income of the population affected the public participation in flood problem management with a significance of 0.05.
|
|
Publisher |
วารสารการจัดการสิ่งแวดล้อม JOURNAL OF ENVIRONMENTAL MANAGEMENT
|
|
Contributor |
—
|
|
Date |
2016-07-01
|
|
Type |
info:eu-repo/semantics/article
info:eu-repo/semantics/publishedVersion — |
|
Format |
application/pdf
|
|
Identifier |
http://www.tci-thaijo.org/index.php/JEM/article/view/45946
|
|
Source |
วารสารการจัดการสิ่งแวดล้อม JOURNAL OF ENVIRONMENTAL MANAGEMENT; Vol 12, No 2 (2016); 4 - 23
2465-4434 1906-5485 |
|
Relation |
http://www.tci-thaijo.org/index.php/JEM/article/view/45946/52146
|
|
Rights |
Copyright (c) 2016 วารสารการจัดการสิ่งแวดล้อม JOURNAL OF ENVIRONMENTAL MANAGEMENT
— |
|