การปรับตัวของร้านโชห่วยภายใต้กระแสการขยายตัวของร้านสะดวกซื้อสมัยใหม่ The adaptation of grocery stores under the spread of modern convenient stores
Journal of Environmental Management
View Archive InfoField | Value | |
Title |
การปรับตัวของร้านโชห่วยภายใต้กระแสการขยายตัวของร้านสะดวกซื้อสมัยใหม่ The adaptation of grocery stores under the spread of modern convenient stores
|
|
Creator |
ฉันทัส เพียรธรรม, Chantas Pientam
วันทนาพร รุ่งวรรณรัตน์, Wantanaporn Rungwannarat |
|
Description |
งานวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการปรับตัวของร้านโชห่วยภายใต้กระแสการ ขยายตัวของร้านสะดวกซื้อสมัยใหม่ มีพื้นที่ศึกษาอยู่ในเขต เขตเทศบาลบางกรวย จ.นนทบุรี งานวิจัยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยการศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้อง สัมภาษณ์แบบเจาะลึก กับกลุ่มผู้ให้ข้อมูลหลัก ซึ่งเป็นผู้ประกอบการร้านโชห่วยจำนวน 20 ราย โดยใช้แบบสัมภาษณ์ปลายเปิดเพื่อนำมาทำการวิเคราะห์ หาจุดอ่อน จุดแข็ง โอกาส อุปสรรคการปรับตัวของร้านโชห่วย ผลวิจัยพบว่า การเข้ามาแทนที่ของร้านสะดวกซื้อได้ส่งผลกระทบทำให้ร้านโชห่วยที่มีอยู่เดิม ต้องปิดตัวลง แต่ขณะเดียวกันก็มีร้านโชห่วยเล็กๆ เกิดขึ้นใหม่ตามบริเวณตรอกซอกซอยที่อยู่ลึกเข้าไปจากถนนใหญ่ เพราะช่วง 10 ปีที่ผ่านมาเกิดการขยายตัวของประชากรในเขตเมือง ทำให้มีแรงงานย้ายเข้ามาพักอาศัยในพื้นที่ จากการวิจัยพบว่า ร้านโชห่วยที่ปิดตัวลงมักตั้งอยู่ในทำเลค่อนข้างดี อยู่ในแหล่งการค้าหรือแหล่งสัญจร ส่วนร้านโชห่วยที่ยังคงประคองกิจการอยู่ได้ มักตั้งอยู่ในทำเลระดับปานกลาง มีที่ตั้งอยู่บริเวณกลางซอยหรือหน้าปากทางเข้าชุมชนหมู่บ้าน อย่างไรก็ดี ร้านโชห่วยเหล่านี้ก็อาจจะต้องปิดตัวลงในอนาคตอันใกล้ได้เช่นกัน หากรายได้ไม่พอกับรายจ่าย ฉะนั้น ถ้าหากยังต้องการจะดำเนินกิจการต่อก็ต้องปรับตัวเพื่อความอยู่รอด โดยจะต้องพยายามรักษาความสัมพันธ์กับลูกค้าประจำกลุ่มเดิม พร้อมไปกับหากลุ่มลูกค้าประจำใหม่ ซึ่งส่วนมากจะเป็นกลุ่มแรงงานที่ย้ายเข้ามาอยู่อาศัยในพื้นที่This research aimed at exploring the adaptation of local grocery stores under the spread of modern trade, using the case of Bang Kruai District in Nonthaburi Province. This research was qualitative, consisting of the document analysis and in-depth interview of twenty grocery store merchants, using individual and structured interviews and a SWOT analysis, to identify strengths, weaknesses, opportunities, and threats. The research found that the spread of convenient stores in the area has caused a decrease in local grocery stores. Yet, an increase in the labor population in Nonthaburi during the last ten years has also brought about a rise in the number of grocery stores in the area as well. Such new stores are mostly located along small roads or the areas near the community or apartments for rent. Remarkably, while grocery stores located on high-traffic routes may adjust to convenient stores, grocery stores in low-traffic locations tend to continually lose profit, and ultimately lose business. Yet, the grocery stores in “middle-traffic” locations remain in the area, confronting the challenge of modern trade. Thus, the research suggests that if grocery store owners want to continue their business, they need to strengthen their relationship with existing customers while penetrating new customers, especially groups of labor that settle in the area.
|
|
Publisher |
วารสารการจัดการสิ่งแวดล้อม JOURNAL OF ENVIRONMENTAL MANAGEMENT
|
|
Contributor |
—
|
|
Date |
2015-01-02
|
|
Type |
info:eu-repo/semantics/article
info:eu-repo/semantics/publishedVersion — |
|
Format |
application/pdf
|
|
Identifier |
http://www.tci-thaijo.org/index.php/JEM/article/view/28084
|
|
Source |
วารสารการจัดการสิ่งแวดล้อม JOURNAL OF ENVIRONMENTAL MANAGEMENT; Vol 8, No 1 (2012)
2465-4434 1906-5485 |
|
Relation |
http://www.tci-thaijo.org/index.php/JEM/article/view/28084/24132
|
|
Rights |
Copyright (c) 2016 วารสารการจัดการสิ่งแวดล้อม JOURNAL OF ENVIRONMENTAL MANAGEMENT
— |
|