Record Details

การประยุกต์หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในการจัดการพลังงานในระดับชุมชน Application of the Sufficiency Economy Theory in Community Energy Management

Journal of Environmental Management

View Archive Info
 
 
Field Value
 
Title การประยุกต์หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในการจัดการพลังงานในระดับชุมชน Application of the Sufficiency Economy Theory in Community Energy Management
 
Creator วิสาขา ภู่จินดา, Wisakha Phoochinda
 
Description การ ศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์และหาข้อเสนอแนะในการนำหลักปรัชญาของ เศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ในการจัดการพลังงานชุมชน การศึกษาพบว่าหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการ จัดการพลังงานได้เป็นอย่างดี โดยเฉพาะอย่างยิ่งในระดับชุมชน เพราะเป็นหน่วยเล็กที่สามารถบริหารจัดการได้ง่าย และทางภาครัฐเองก็ได้มีการสนับสนุนนโยบายและแผนในการจัดการพลังงานชุมชนอยู่ แล้ว หลักที่สำคัญของการประยุกต์ใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในการจัดการ พลังงานของประเทศ คือการลดการพึ่งพาพลังงานจากต่างประเทศ โดยการผลิตพลังงานใช้เองและใช้ทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่ในประเทศให้เกิด ประโยชน์สูงสุดและใช้อย่างคุ้มค่า รู้จักเลือกใช้ให้เหมาะสมกับสถานการณ์และสภาพแวดล้อมของท้องถิ่น การหาแหล่งพลังงานให้มีความหลากหลายเพื่อลดการพึ่งพลังงานจากแหล่งเดียวและ เพื่อแก้ปัญหาปริมาณพลังงานสำรองจำพวกพลังงานฟอสซิลที่ลดลง การสร้างการมีส่วนร่วมและความตระหนักของประชาชนในการจัดการพลังงาน การพึ่งแรงงานแทนการใช้เทคโนโลยีซึ่งเป็นการสร้างงานให้กับชุมชนก็เป็นการ น้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้This study aimed at applying Sufficiency Economy Philosophy for energy management in Thailand and also searching for appropriate guidelines of the application. The Sufficiency Economy Philosophy has been applied in many sectors like agricultural, industrial and business sectors. For energy management, the philosophy can be easily applied and viable for a small unit like communities, and there was the energy management plan for communities backed by the government. The guidelines for using the philosophy for energy management were to decrease energy import, to produce energy using natural resources that Thailand has, to use the self-produced energy as wise as they can, to search for suitable energy for each area and to search for various energy so as to reduce a risk of run out off energy. In addition, the public participation is very important for energy management using this philosophy. The use of local labors rather than the use of importing technology could help communities in energy management and follow the philosophy.
 
Publisher วารสารการจัดการสิ่งแวดล้อม Journal of Environmental Management (JEM)
 
Contributor
 
Date 2015-01-06
 
Type info:eu-repo/semantics/article
info:eu-repo/semantics/publishedVersion

 
Format application/pdf
 
Identifier http://www.tci-thaijo.org/index.php/JEM/article/view/29113
 
Source วารสารการจัดการสิ่งแวดล้อม Journal of Environmental Management (JEM); Vol 5, No 2 (2009)
1906-5485
 
Relation http://www.tci-thaijo.org/index.php/JEM/article/view/29113/25020
 
Rights Copyright (c) 2016 วารสารการจัดการสิ่งแวดล้อม Journal of Environmental Management (JEM)