การจัดการยางรถยนต์ใช้แล้วเพื่อไม่ให้เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายซึ่งเป็นสาเหตุของโรคไข้เลือดออก
Journal of Environmental Management
View Archive InfoField | Value | |
Title |
การจัดการยางรถยนต์ใช้แล้วเพื่อไม่ให้เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายซึ่งเป็นสาเหตุของโรคไข้เลือดออก
|
|
Creator |
จำลอง โพธิ์บุญ, Chamlong Poboon
วิสาขา ภู่จินดา, Wisakha Phoochinda |
|
Description |
การศึกษาเรื่องการจัดการยางรถยนต์ใช้แล้วเพื่อไม่ให้เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายซึ่งเป็นสาเหตุของโรคไข้เลือดออกมีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจแหล่งผลิต แหล่งจัดเก็บและแหล่งที่มียางรถยนต์ใช้แล้วในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล และเพื่อศึกษาและเสนอแนะแนวทางการจัดการยางรถยนต์ที่เหมาะสมและไม่ให้เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายต่อไป การศึกษานี้ได้ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลทั้งข้อมูลปฐมภูมิโดยใช้แบบสอบถามและการสัมภาษณ์ และได้เก็บข้อมูลโดยการดำเนินการสำรวจ (Field study) และเก็บข้อมูลทุติยภูมิจากเอกสารที่เกี่ยวข้อง ผลการศึกษาพบว่าปัจจุบันประเทศไทยมีผู้ผลิตยางรถยนต์แบ่งเป็น 2 กลุ่มใหญ่ ได้แก่ กลุ่มผู้ร่วมทุนกับผู้ผลิตยางรถยนต์ต่างประเทศ ซึ่งเป็นกลุ่มผู้ผลิตรายใหญ่และกลุ่มบริษัทที่ดำเนินการโดยผู้ประกอบการคนไทย การศึกษานี้ได้ทำการสำรวจยางรถยนต์ที่ใช้แล้วในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑลโดยทำการศึกษาข้อมูลทั่วไปของกลุ่มตัวอย่าง ประเภทกิจการและจำนวนพนักงาน จำนวนยางรถยนต์และยางรถยนต์ที่ใช้แล้ว การดำเนินการในการจัดเก็บยางรถยนต์ใช้แล้วและแนวทางในการจัดการยางรถยนต์ใช้แล้ว นอกจากนี้ได้มีการประชุมเชิงปฏิบัติการซึ่งเป็นการรวบรวมความคิดเห็นเกี่ยวกับแนวทางการจัดการที่เหมาะสมจากนักวิชาการ ผู้เชี่ยวชาญและผู้ประกอบการ และเพื่อให้เกิดการจัดการได้จริงการศึกษานี้จัดทำโครงการนำร่องเพื่อรวบรวมยางรถยนต์ที่ใช้แล้ว และมีการขนถ่ายเพื่อนำไปกำจัดต่อไปข้อเสนอแนะสำหรับแนวทางการจัดการยางรถยนต์ใช้แล้วสามารถแบ่งเป็นแนวทางการดำเนินการในระยะสั้น ได้แก่ 1) การจัดหาสถานที่เพื่อเป็นแหล่งเก็บรวบรวมยางรถยนต์เก่าที่ไม่ไช้งานแล้วให้แก่ผู้ประกอบการในบริเวณใกล้เคียง และให้โรงงานปูนซีเมนต์หรือหน่วยงานที่สามารถนำยางรถยนต์ที่ใช้แล้วไปกำจัด หรือนำไปใช้ประโยชน์เป็นผู้ขนถ่าย ทั้งนี้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่นั้นควรเป็นผู้บริหารจัดการ และ 2)ในระยะสั้นกระทรวงสาธารณสุขในฐานะเป็นผู้รับผิดชอบป้องกันและควบคุมโรคอาจเพิ่มแรงจูงใจ เช่น ให้การสนับสนุน หรือ ให้การอุดหนุนค่าเช่าและดูแลพื้นที่ในกรณีที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นบางแห่งไม่สามารถบริหารจัดการได้ แนวทางการดำเนินการในระยะยาว ได้แก่ การใช้มาตรการทางกฎหมายโดยกำหนดให้ผู้ผลิตยางรถยนต์รายใหญ่และผู้นำเข้ายางรถยนต์ต้องรับผิดชอบในการกำจัดยางรถยนต์ของตนเอง อาจใช้ระบบมัดจำที่มีมูลค่าเพียงพอต่อการจูงใจให้ผู้บริโภคต้องการขอค่ามัดจำ และอาจใช้มาตรการส่งเสริมการลงทุนด้านการแปรรูปนำกลับมาใช้ใหม่ ในด้านการลดหย่อนภาษีนำเข้าเครื่องจักรอุปกรณ์ ลดหย่อนภาษีเงินได้ หรือสิทธิประโยชน์
|
|
Publisher |
วารสารการจัดการสิ่งแวดล้อม Journal of Environmental Management (JEM)
|
|
Date |
2012-01-19
|
|
Type |
info:eu-repo/semantics/article
info:eu-repo/semantics/publishedVersion — |
|
Format |
application/pdf
|
|
Identifier |
http://www.tci-thaijo.org/index.php/JEM/article/view/31996
|
|
Source |
วารสารการจัดการสิ่งแวดล้อม Journal of Environmental Management (JEM); Vol 2, No 1 (2005)
1906-5485 |
|
Relation |
http://www.tci-thaijo.org/index.php/JEM/article/view/31996/27373
|
|
Rights |
Copyright (c) 2016 วารสารการจัดการสิ่งแวดล้อม Journal of Environmental Management (JEM)
— |
|