Record Details

การบริหารจัดการก่อนการเกิดภัยพิบัติอุทกภัย โดยอาศัยชุมชนเป็นฐาน: กรณีชุมชนลุ่มน้ำลำตะคอง จังหวัดนครราชสีมา

Journal of Environmental Management

View Archive Info
 
 
Field Value
 
Title การบริหารจัดการก่อนการเกิดภัยพิบัติอุทกภัย โดยอาศัยชุมชนเป็นฐาน: กรณีชุมชนลุ่มน้ำลำตะคอง จังหวัดนครราชสีมา
 
Creator วรัชยา เชื้อจันทึก, Varatchaya Chueachanthuek
ดุษฎี อายุวัฒน์, Dusadee Ayuwat
ยรรยง อินทร์ม่วง, Yanyong Inmuong
 
Description บทคัดย่องานวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการบริหารจัดการก่อนการเกิดภัยพิบัติอุทกภัยของชุมชนลุ่มน้ำลำตะคอง  จังหวัดนครราชสีมา ใช้การวิจัยเชิงคุณภาพ โดยมีหน่วยการวิเคราะห์ข้อมูลเป็นระดับชุมชน  เก็บข้อมูลด้วยเทคนิคการสัมภาษณ์กลุ่มและการสัมภาษณ์เชิงลึก  กับผู้นำด้านการปกครอง กรรมการชุมชน  ผู้อาวุโส ปราชญ์ชาวบ้าน ผู้นำองค์กรชุมชน จำนวน 30 คน ระหว่าง เดือนกุมภาพันธ์ – เดือนพฤศจิกายน 2556 ในชุมชนที่ประสบอุทกภัยไม่น้อยกว่า 3 ครั้งระหว่าง พ.ศ. 2550-2556 วิเคราะห์และนำเสนอข้อมูลโดยการพรรณนาวิเคราะห์ (Descriptive Analytical) ผลการวิจัยพบว่า ชุมชนลุ่มน้ำลำตะคองได้มีการบริหารจัดการก่อนการเกิดภัยพิบัติอุทกภัย ประกอบด้วย 2 กระบวนการหลัก 1) การบริหารจัดการในการลดผลกระทบภัยพิบัติอุทกภัย โดยชุมชนได้มีการปรับปรุงสภาพที่อยู่อาศัย การจัดการแหล่งน้ำ การปรับวิถีการผลิต และ 2) การบริหารจัดการในการเตรียมพร้อมรับภัยพิบัติอุทกภัย โดยชุมชนได้มีการเตรียมการในการเตือนภัยและเฝ้าระวังอุทกภัย  การเตรียมพื้นที่ปลอดภัยและที่หลบภัยชั่วคราวคำสำคัญ: การบริหารจัดการภัยพิบัติ อุทกภัย การบริหารจัดการความเสี่ยงจากภัยพิบัติอุทกภัยโดยชุมชน   ABSTRACTThe objective of this study was to examine the management of pre-flood disasters of the Lam Ta Khong basin community in Nakhon Ratchasima province, Thailand. This study adopted a qualitative approach using group interviews and in-depth interviews with 30 key informants, including local leaders, community committees, the elderly, local wisdom, and the leaders of community organizations. The study area was a village that had been affected by floods more than three times within the last five years (2007-2012). The data were collected during February - November 2013. Content analysis was employed for data analysis. The results showed that there were two main approaches to pre-flood disaster management: 1) disaster mitigation, which includes improving housing conditions, management of water resources, and adaptation of the production method; and 2) disaster preparedness, which consists of preparation for flood warning and surveillance and preparation for safety and temporary shelters.Keywords:  Disaster Management;  Flooding;  Community-Based Disaster Risk Management
 
Publisher วารสารการจัดการสิ่งแวดล้อม JOURNAL OF ENVIRONMENTAL MANAGEMENT
 
Date 2014-12-29
 
Type info:eu-repo/semantics/article
info:eu-repo/semantics/publishedVersion
 
Format application/pdf
 
Identifier http://tci-thaijo.org/index.php/JEM/article/view/27569
 
Source วารสารการจัดการสิ่งแวดล้อม JOURNAL OF ENVIRONMENTAL MANAGEMENT; Vol 10 No 2 (2014)
2465-4434
1906-5485
 
Language eng
 
Relation http://tci-thaijo.org/index.php/JEM/article/view/27569/26433
 
Rights Copyright (c) 2017 วารสารการจัดการสิ่งแวดล้อม JOURNAL OF ENVIRONMENTAL MANAGEMENT