Record Details

การประยุกต์กระบวนการนโยบายสาธารณะแบบมีส่วนร่วมในการพัฒนามหาวิทยาลัยสีเขียวของมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม จังหวัดพิษณุโลก

Journal of Environmental Management

View Archive Info
 
 
Field Value
 
Title การประยุกต์กระบวนการนโยบายสาธารณะแบบมีส่วนร่วมในการพัฒนามหาวิทยาลัยสีเขียวของมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม จังหวัดพิษณุโลก
 
Creator ธัญณ์ณภัทร์ เจริญพานิช, Thannapat Jarenpanit
 
Description การศึกษาครั้งนี้มุ่งศึกษาการประยุกต์ใช้กระบวนการนโยบายสาธารณะแบบมีส่วนร่วมในการพัฒนามหาวิทยาลัยสีเขียวของมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม โดยใช้วิธีการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ การสังเกตการณ์แบบมีส่วนร่วม การสัมภาษณ์แบบเชิงลึกจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญและการสรุปบทเรียน โดยใช้เทคนิคการเรียนรู้ระหว่างงานเพื่อนำมาวิเคราะห์เนื้อหา และสังเคราะห์ในรูปแบบของแนวนโยบายจากกระบวนการนโยบายแบบมีส่วนร่วม การศึกษาในครั้งนี้จำกัดขอบเขตการศึกษาอยู่ในระดับของการก่อรูปเชิงนโยบายและกำหนดนโยบาย เพื่อนำไปสู่การปฏิบัติร่วมกันภายในองค์กรต่อไป ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่ากระบวนการของนโยบายสาธารณะแบบมีส่วนร่วมเป็นรูปแบบของการสร้างนโยบายจากล่างขึ้นสู่บน ผ่านกระบวนการสร้างเครือข่ายเชิงนโยบายระหว่างกลุ่มหรือภาคส่วนต่างๆ และการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน โดยปัจจัยหลักสำคัญที่จะทำให้การปรับใช้กระบวนการนโยบายสาธารณะแบบมีส่วนร่วมประสบความสำเร็จ คือ การมีกลไก กระบวนการและทิศทางที่ชัดเจน การเปิดพื้นที่ทางสังคมให้เกิดกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันผ่านการปฏิบัติ การสื่อสารประชาสัมพันธ์ข้อมูล และการพัฒนาเครือข่ายเชิงนโยบาย ที่มีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กันเพื่อให้เกิดการขับเคลื่อนโยบายร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพThe purpose of this research was to study the application of the participatory public policy process in the green university development of Pibulsongkram Rajabhat University, Phitsanulok, in the lower northern part of Thailand. This study was of a qualitative research design, and utilized participant observation, in-depth interviews with the key informants, and learning summary by using the after-action review technique. Then, the data was analyzed by the content analysis method and synthesized through the participatory public policy process. This study focuses on policy formation and the policy formulation level of the participatory public policy process.  The results of the study revealed that the participatory public policy process is a bottom-up policy model, and it can be supplemented by creating a policy network and interactive learning. The important factors that led to the success of the participatory public policy process were: clarity of the policy mechanism, process and direction; social space openness for interactive-learning through action among the participants; and communication and policy network development to support policy efficiency
 
Publisher วารสารการจัดการสิ่งแวดล้อม Journal of Environmental Management (JEM)
 
Contributor
 
Date 2015-06-30
 
Type info:eu-repo/semantics/article
info:eu-repo/semantics/publishedVersion

 
Format application/pdf
 
Identifier http://www.tci-thaijo.org/index.php/JEM/article/view/35762
10.14456/jem.2015.5
 
Source วารสารการจัดการสิ่งแวดล้อม Journal of Environmental Management (JEM); Vol 11, No 1 (2015); 80-97
1906-5485
 
Relation http://www.tci-thaijo.org/index.php/JEM/article/view/35762/29727
 
Rights Copyright (c) 2016 วารสารการจัดการสิ่งแวดล้อม Journal of Environmental Management (JEM)