Record Details

การทำปุ๋ยหมักจากผักตบชวาผสมมูลวัวโดยใช้สารเร่งชีวภาพ/The Decomposting from Water Hyacinth mixed with Manure Dropping and Bio-catalyst

Journal of Environmental Management

View Archive Info
 
 
Field Value
 
Title การทำปุ๋ยหมักจากผักตบชวาผสมมูลวัวโดยใช้สารเร่งชีวภาพ/The Decomposting from Water Hyacinth mixed with Manure Dropping and Bio-catalyst
 
Creator สุทธี พลรักษา, Suttee Polruksa
จินดาวัลย์ วิบูลย์อุทัย, Jindawan Wibuloutai
ธวัชชัย เนียรวิฑูรย์, Thawatchai Nienvitoon
 
Description การวิจัยครั้งนี้เพื่อศึกษาคุณลักษณะของสารเร่งชีวภาพในการทำปุ๋ยหมักจาก ผักตบชวาผสมมูลวัว และเปรียบเทียบระยะเวลาที่ใช้ทำปุ๋ยหมัก ปริมาณธาตุอาหารหลัก (ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโพแทสเซียม) สภาพความเป็นกรด-ด่าง และค่า C/N Ratio ในปุ๋ยหมักที่ได้จากผักตบชวาผสมมูลวัว โดยใช้สารเร่งชีวภาพในอัตราส่วนที่แตกต่างกัน การหมักใช้ผักตบชวาผสมมูลวัวอัตราส่วน 3:1 ทำการหมักแบบใช้ออกซิเจน ซึ่งการเปรียบเทียบจะแบ่งเป็น 3 รูปแบบคือ บ่อที่ไม่ใส่สารเร่งชีวภาพ (A1) บ่อที่ใส่สารเร่งชีวภาพอัตราส่วน 1:100 (A2) และบ่อที่ใส่สารเร่งชีวภาพอัตราส่วน 1:50 (A3) พบว่า สารเร่งมีค่าความเป็นกรด-ด่าง (pH) 3.5  มีจุลินทรีย์ทั้งหมดที่ย่อยเซลลูโลส 1.2 x 10^7 CFU/ml นำสารเร่งชีวภาพที่ได้ใช้เป็นสารเร่งปุ๋ยหมัก พบว่า บ่อ A3 ใช้เวลาหมักเร็วกว่าบ่อ A2 และบ่อ A1 โดยมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.05 และมีอุณหภูมิเฉลี่ยตลอดระยะเวลาการหมักที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ ระดับ 0.05 ส่วนปริมาณธาตุอาหารหลัก สภาพความเป็นกรด-ด่าง และค่า C/N Ratio ของปุ๋ยหมักในบ่อ A1, A2 และ A3 ไม่แตกต่างกันThe objective of this experiment was to determine characteristics of a bio-catalyst; and study the decomposting period, quantity of major nutrients (nitrogen, phosphorus and potassium), pH, and C/N ratio of the compost. The compost used in the study was made from water hyacinth and manure dropping at a ratio of 3:1; and required oxygen during the decomposting. Bio-catalyst was added at different amounts: without bio-catalyst addition (A1), with bio-catalyst which  diluted with water at ratio of 1:100, and with bio-catalyst which diluted with water at ratio of 1:50. The findings revealed that the bio-catalyst obtained  was a pH of 3.5 and total quantity of micro-organisms which decompose cellulose was 1.2 x 10 7 CFU/ml. The bio-catalyst used to be a catalyst for the decomposting. It was found that the experiment with bio-catalyst at the ratio of 1:50 (A3) had the fastest decomposting time. The results also showed that average temperatures  throughout the periods of decom-posting of 3 different  conditions were different significantly. However, the  quantities of major nutrients, pH, and C/N ratio of the composts in all experiment were not significantly different.
 
Publisher วารสารการจัดการสิ่งแวดล้อม Journal of Environmental Management (JEM)
 
Contributor
 
Date 2015-01-06
 
Type info:eu-repo/semantics/article
info:eu-repo/semantics/publishedVersion

 
Format application/pdf
 
Identifier http://www.tci-thaijo.org/index.php/JEM/article/view/29084
 
Source วารสารการจัดการสิ่งแวดล้อม Journal of Environmental Management (JEM); Vol 6, No 1 (2010)
1906-5485
 
Relation http://www.tci-thaijo.org/index.php/JEM/article/view/29084/24997
 
Rights Copyright (c) 2016 วารสารการจัดการสิ่งแวดล้อม Journal of Environmental Management (JEM)