Record Details

การประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ในการศึกษาการมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์และจัดการพื้นที่ป่าอนุรักษ์ : กรณีศึกษาเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าแม่น้ำภาชี อำเภอสวนผึ้งและอำเภอบ้านคา จังหวัดราชบุรี

Journal of Environmental Management

View Archive Info
 
 
Field Value
 
Title การประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ในการศึกษาการมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์และจัดการพื้นที่ป่าอนุรักษ์ : กรณีศึกษาเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าแม่น้ำภาชี อำเภอสวนผึ้งและอำเภอบ้านคา จังหวัดราชบุรี
 
Creator จินตนา อมรสงวนสิน, Jintana Amonsanguansin
 
Subject ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์; การมีส่วนร่วมของชุมชนท้องถิ่น; การอนุรักษ์ทรัพยากรป่า; การจัดการพื้นที่ป่าอนุรักษ์; เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าแม่น้ำภาชี
 
Description การศึกษาครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาการมีส่วนร่วมของชุมชนในการอนุรักษ์และจัดการพื้นที่ป่าอนุรักษ์โดยนำระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (Geographic Information System:GIS) มาใช้เป็นเครื่องมือเพื่อสนับสนุนการดำเนินการศึกษา โดยจัดทำเป็นฐานข้อมูลด้านสังคมเชิงพื้นที่ สำหรับกำหนดแนวกันชนในการจำแนกหมู่บ้านและประชากรเป้าหมายที่ศึกษาเพื่อทำการเก็บข้อมูลด้านการมีส่วนร่วม เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ใช้แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง โดยสุ่มตัวอย่างจำนวน 120 ครัวเรือนด้วยวิธีสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นและ Equal Allocation จากหมู่บ้านที่ตั้งอยู่รอบแนวเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าแม่น้ำภาชีในรัศมีห่างจากแนวเขตฯ 1, 2 และ 3 กิโลเมตร สำหรับเทคนิคการสุ่มตัวอย่างใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่ายโดยวิธีจับสลาก การวิเคราะห์ข้อมูลใช้โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS โดยใช้สถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบไคสแควร์ การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (ANOVA)และการวิเคราะห์ความถดถอยเชิงเส้นอย่างง่าย (Simple Linear Regression Analysis) ผลการศึกษาพบว่า การมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์และจัดการป่าอนุรักษ์อยู่ในระดับปานกลางโดยชุมชนท้องถิ่นเห็นด้วยอย่างยิ่งว่า การประกาศเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าไม่สามารถป้องกันการบุกรุกป่าได้ รัฐควรกระจายอำนาจให้ชุมชนท้องถิ่นร่วมดูแลรักษาป่า และเขตฯควรเปิดโอกาสให้ชุมชนร่วมแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการกำหนดแนวเขตฯ และมีส่วนในการใช้ประโยชน์ป่าไม้เท่าที่ไม่ทำให้สภาพป่าสูญเสีย ตลอดจนให้ชุมชนมีอำนาจและได้รับการสนับสนุนจากกฎหมายป่าไม้ในการปกป้องทรัพยากรธรรมชาติภายในท้องถิ่นของตน ผลการเปรียบเทียบความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรโดยใช้การทดสอบไคสแควร์ พบว่า ระยะห่างของหมู่บ้านจากแนวเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่ามีความสัมพันธ์กับการมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์และจัดการพื้นที่ป่าอนุรักษ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และจากการเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างตัวแปรโดยการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว พบว่า ชุมชนที่อาศัยอยู่ในหมู่บ้านที่ห่างจากแนวเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าที่แตกต่างกันมีการมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์และจัดการพื้นที่ป่าที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และการวิเคราะห์ความแตกต่างเป็นรายคู่ด้วยวิธี Scheffe พบว่า ชุมชนที่อาศัยอยู่ในหมู่บ้านที่ห่างจากแนวเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า 1 กิโลเมตรมีการมีส่วนร่วมฯมากกว่า ชุมชนที่อาศัยอยู่ในหมู่บ้านที่ห่างจากแนวเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า 3 กิโลเมตร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และจากการวิเคราะห์ความถดถอยเชิงเส้นอย่างง่าย พบว่า การมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์และจัดการพื้นที่ป่าและระยะห่างของหมู่บ้านจากแนวเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า มีความสัมพันธ์กันในเชิงเส้น คิดเป็นสมการถดถอยเชิงเส้น คือ การมีส่วนร่วมฯ = 88.108 – 0.387*ระยะห่างจากเขตฯ สำหรับข้อมูลผลการศึกษาการมีส่วนร่วมของชุมชนท้องถิ่นในการอนุรักษ์และจัดการพื้นที่ป่าอนุรักษ์ประกอบด้วย การใช้ประโยชน์จากทรัพยากรป่าไม้ สัมพันธภาพในชุมชนและกับเจ้าหน้าที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า และความรู้ด้านกฏหมายป่าไม้ ได้นำมาจัดเก็บเป็นฐานข้อมูลและแผนที่แสดงผลข้อมูลด้านสังคมเป็นรายหมู่บ้านสำหรับเป็นเครื่องมือสำหรับผู้ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการพื้นที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าแม่น้ำภาชีหรือพื้นที่อนุรักษ์อื่นสามารถนำไปใช้ในการวางแผนการจัดการโดยเฉพาะด้านการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชนท้องถิ่นในการจัดการพื้นที่อย่างยั่งยืนต่อไป
 
Publisher วารสารการจัดการสิ่งแวดล้อม JOURNAL OF ENVIRONMENTAL MANAGEMENT
 
Date 2011-03-31
 
Type info:eu-repo/semantics/article
info:eu-repo/semantics/publishedVersion

 
Format application/pdf
 
Identifier http://www.tci-thaijo.org/index.php/JEM/article/view/31984
 
Source วารสารการจัดการสิ่งแวดล้อม JOURNAL OF ENVIRONMENTAL MANAGEMENT; Vol 4, No 1 (2008)
2465-4434
1906-5485
 
Relation http://www.tci-thaijo.org/index.php/JEM/article/view/31984/27361
 
Rights Copyright (c) 2016 วารสารการจัดการสิ่งแวดล้อม JOURNAL OF ENVIRONMENTAL MANAGEMENT