Record Details

ความยุติธรรมทางสิ่งแวดล้อม

Journal of Social Development

View Archive Info
 
 
Field Value
 
Title ความยุติธรรมทางสิ่งแวดล้อม
 
Creator ศักดิ์ณรงค์ มงคล, Saknarong Mongkol
 
Subject
ยุติธรรม; ความยุติธรรมทางสิ่งแวดล้อม; กระบวนทัศน์ทางสิ่งแวดล้อม; ปรัชญาสิ่งแวดล้อม; การพัฒนาอย่างยั่งยืน;Justice; Environmental Justice; Environmental Paradigm; Environmental Philosophy; Sustainable Development
 
Description บทคัดย่อความยุติธรรมทางสิ่งแวดล้อมซึ่งมีองค์ประกอบทั้งทางด้านความเคลื่อนไหวและด้านกระบวนทัศน์มีจุดเริ่มต้นมาจากการผลัก “ภาระ” ผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมอย่างไม่เป็นธรรมให้แก่กลุ่มคนซึ่งมีอำนาจต่อรองต่ำในโครงสร้างอำนาจการจัดการสิ่งแวดล้อมของสหรัฐอเมริกา ให้รับภาระแทนกลุ่มคนที่ได้เปรียบเชิงอำนาจดังกล่าว ก่อนที่จะขยายอิทธิพลไปทั่วโลกพร้อมกับการพัฒนาเนื้อหาของกระบวนทัศน์ความยุติธรรมทางสิ่งแวดล้อมให้ครอบคลุมมิติที่หลากหลายเพื่อให้เกิดการแบ่งสันปันส่วนทั้ง “ภาระ” และ “ประโยชน์” ทางสิ่งแวดล้อมอย่างเป็นธรรมในระหว่างมนุษย์รุ่นเดียวกันและต่างรุ่น รวมทั้ง ระหว่างมนุษย์กับสิ่งแวดล้อมที่ไม่ใช่มนุษย์ โดยตามทัศนะของผู้เขียนแล้วเห็นว่ามี “ความสมดุล”เป็นสิ่งสะท้อนสารัตถะแห่งสภาวะความยุติธรรมทางสิ่งแวดล้อมได้มากที่สุด ซึ่งหมายถึง ความสมดุลในส่วนวิธีการ คือการมีอำนาจที่สมดุล และความสมดุลของผลประโยชน์และของการอยู่ร่วมกันโดยกระทำต่อกันอย่างวิภาษวิธี แต่ก็เกื้อกูลและพึ่งพากัน อันเป็นสภาวะความยุติธรรมในเบื้องปลายของกระบวนการคำสำคัญ  ยุติธรรม ความยุติธรรมทางสิ่งแวดล้อม กระบวนทัศน์ทางสิ่งแวดล้อม ปรัชญาสิ่งแวดล้อม การพัฒนาอย่างยั่งยืนAbstractEnvironmental justice, consisting of the movement and the paradigm elements, was initiated in the United States of America due to unfair thrust of “environmental burdens” to groups of people with lower bargaining power in the power structure of environmental management. Later the concept of environmental justice, has been prevailing worldwide, with its paradigm developed extensively to cover multidimensions of principles, propositions, norms, values, etc., to distribute fairly both the environmental “burdens” and the environmental “benefits” among intragenerations, intergenerations, and even between human beings and the nonhuman environment. In the author’s opinion, equilibrium” or “balance” can best express its core substances, i.e., the balance of power and the balance of interest among those concerned through mutual dependence, which will reflect justice at the end of the process.Keywords: Justice, Environmental Justice, Environmental Paradigm, Environmental Philosophy, Sustainable Development  
 
Publisher คณะพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
 
Contributor
 
Date 2015-10-22
 
Type info:eu-repo/semantics/article
info:eu-repo/semantics/publishedVersion

 
Format application/pdf
 
Identifier http://www.tci-thaijo.org/index.php/jsd/article/view/41275
 
Source วารสารพัฒนาสังคม Journal of Social Development (JSD); Vol 17, No 2 (2015): October 2015
0859-2667
 
Relation http://www.tci-thaijo.org/index.php/jsd/article/view/41275/35832
 
Rights Copyright (c) 2015 วารสารพัฒนาสังคม Journal of Social Development (JSD)
http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0