Record Details

ความเป็นไปได้ในการใช้ผักเบี้ยทะเล(Sesuvium portulacastrum) บำบัดดินเค็ม/The Possibility of Using Sesuvium portulacastrum in Saline Soils Treatment

Journal of Environmental Management

View Archive Info
 
 
Field Value
 
Title ความเป็นไปได้ในการใช้ผักเบี้ยทะเล(Sesuvium portulacastrum) บำบัดดินเค็ม/The Possibility of Using Sesuvium portulacastrum in Saline Soils Treatment
 
Creator วรรณิสา พึ่งแสง, Wannisa pingsang
ธวัชชัย ศุภดิษฐ์, Tawadchai Suppadit
วิสาขา ภู่จินดา, Wisakha Phoochinda
ศราวุธ อินทรเทศ, Sarawut Intrarathed
 
Description การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความเค็มสูงสุดที่ ผักเบี้ยทะเลสามารถบำบัดได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งความสัมพันธ์ของอัตราการเจริญเติบโต ของผักเบี้ยทะเลกับความสามารถในการบำบัดความเค็ม และความเป็นไปได้ของการนำผักเบี้ย ทะเลที่ปลูกในดินเค็มไปเป็นอาหารของมนุษย์ในการศึกษาได้วางแผนการทดลองแบบ สุ่มสมบูรณ์ โดยผักเบี้ยทะเลนำมาจากโครงการศึกษาวิจัยและพัฒนาสิ่งแวดล้อมแหลมผักเบี้ย อันเนื่องมาจาก พระราชดำริ  ตำบลแหลมผักเบี้ย  อำเภอบ้านแหลม  จังหวัดเพชรบุรี  นำมาปลูก โดยเตรียมดินที่ระดับความเค็ม 0, 4 , 8, 12, 16 และ 20 เดซิซีเมนต์ต่อเมตร เก็บตัวอย่างเพื่อนำไป วิเคราะห์ 6 ระยะ คือ 0, 15, 30, 45, 60, 75 และ 90 วัน  ผลการศึกษา พบว่าผักเบี้ยทะเลสามารถนำมาบำบัดดินเค็มได้โดยส่งผลให้ปริมาณโซเดียม ในดินลดลงภายหลังการทดลอง และเพิ่มขึ้นตามระดับความเค็มของดินที่ใช้ในการปลูกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ในขณะเดียวกันปริมาณโซเดียมที่สะสมในผักเบี้ยทะเลก็มีปริมาณเพิ่มมากขึ้น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเช่นกัน สำหรับอัตราการเจริญเติบโตของผักเบี้ยทะเล พบว่าผักเบี้ยทะเล ที่ปลูกในดินที่มีความเค็ม 4.00 เดซิเมนต์ต่อเมตร มีอัตราการเจิญเติบโตดีกว่าในหน่วยการทดลอง อื่น ขณะที่มีแนวโน้มการเจริญเติบโตลงลงเมื่อความเค็มเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติ ในส่วนของสารอาหาร  พบว่าปริมาณของโปรตีน  ไขมัน  และคาร์โบไฮเดรตขึ้นอยู่กับระดับความเค็มของดินที่ใช้ในการปลูกอย่างมีนัย สำคัญทางสถิติThe main objective of this research was to find out the highest level in soil salinity treatment using Sesuvium portulacastrum. Correlation of growth rate of S. portulacastrum and soil salinity treatment, and possibility of using S. portulacastrum as a dietary after soil salinity treatment were also studied. S. portulacastrum  were  taken from the Laemphakbia Projects initiated  by His Majesty King Bhumibol Adulyadej, Tambon Laemphakbia, Amphoe Ban Laem, Phetchaburi Province. The  experimental  plan  was  a  completely  randomized  design, divided into 6 treatments  (soil  salinity  levels  at  0, 4, 8, 12,16 and 20 dS/m), with 28 replications for each treatment.  Samples  were  taken  for analysis at 0, 15, 30, 45, 60, 75, and  90 days.The results showed that the salinity soils could be treated by S. portulacastrum. NaCl  in  soil  were  decreased  after  experiment and tended to increase with increasing the  soil  salinity levels. In the same way, NaCl accumulation  in  plants was increased with increasing the soil salinity levels. For growth rate, the salinity of  4 dS/m in soil was the  optimum  level when  compared  with other treatments, and tended to decrease with increasing soil salinity levels. Plant nutrients in terms of protein, fat and carbohydrate were affected by soil salinity levels.
 
Publisher วารสารการจัดการสิ่งแวดล้อม JOURNAL OF ENVIRONMENTAL MANAGEMENT
 
Contributor
 
Date 2015-01-06
 
Type info:eu-repo/semantics/article
info:eu-repo/semantics/publishedVersion

 
Format application/pdf
 
Identifier http://www.tci-thaijo.org/index.php/JEM/article/view/29100
 
Source วารสารการจัดการสิ่งแวดล้อม JOURNAL OF ENVIRONMENTAL MANAGEMENT; Vol 5, No 2 (2009)
2465-4434
1906-5485
 
Relation http://www.tci-thaijo.org/index.php/JEM/article/view/29100/25007
 
Rights Copyright (c) 2016 วารสารการจัดการสิ่งแวดล้อม JOURNAL OF ENVIRONMENTAL MANAGEMENT